โปรแกรมบัญชี ที่ใช้งานดีที่สุดในประเทศ
Formula / Winning
ทำงานรวดเร็ว เสถียร ยืดหยุ่น ปลอดภัย
ใช้กันแพร่หลายทั่วประเทศ
โปรแกรม FORMA ERP
คุณภาพระดับสากล
World-class Software
FORMA ERP
Previous
Next

ติดปีกธุรกิจ Forma/Formula ERP

ติดปีกธุรกิจ ให้สมบูรณ์แบบด้วยระบบ Forma/Formula ERP Solution
    การลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศ ถือเป็นการลงทุนแบบเชิงกลยุทธ์อย่างหนึ่งเพื่อสร้างการขับเคลื่อนให้เกิดข้อ ได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งในบางครั้งมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาและปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ตรงตามความต้องการ ซึ่งมีความเฉพาะเจาะจงในแต่ละองค์กร ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหน้าที่งานของระบบเดิมและทั้งในส่วนที่จะปรับปรุง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้มีคุณค่ามากขึ้น ซึ่งจะต้องผสมผสานทั้งระบบเดิมและระบบใหม่ให้ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นพื้นฐานของการออกแบบระบบสารสนเทศขององค์กรจำเป็นที่จะต้องมีการออก แบบและพัฒนาให้ใช้งานได้คุ้มค่ากับที่ลงทุนไป โดยสามารถขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาองค์กรและธุรกิจต่อไปด้วย

     จากการสำรวจซอฟท์แวร์ ERP ที่มีจำหน่ายอยู่ในขณะนี้ พอสรุปแบบสังเขปได้ว่าซอฟท์แวร์ ERP เหล่านั้น ได้ถูกออกมาเพื่อรองรับธุรกิจได้หลากหลายประเภท ทั้งธุรกิจแบบซื้อมาขายไป ธุรกิจบริการ ธุรกิจนำเข้าและส่งออก บางซอฟท์แวร์เฉพาะเจาะจงลงไปเลยว่า ออกแบบมาเพื่อเฉพาะกับธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตบางประเภทเท่านั้น เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมยาและเคมีภัณฑ์ ธุรกิจจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ธุรกิจขนส่ง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม งานพื้นฐานของธุรกิจซึ่งมีความคล้ายคลึงกันอยู่จะต้องรองรับได้อย่างครบถ้วน และบางซอฟท์แวร์มีความสามารถรองรับการทำงาน ในระดับรายละเอียดมากกว่าที่งานพื้นฐานต้องการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้บาง
ธุรกิจต้องการ แต่บางธุรกิจก็ไม่ต้องการ จึงสรุปไม่ได้ว่า ซอฟท์แวร์ที่มี Features มากมาย จะเป็นซอฟท์แวร์ที่ดีที่สุดเสมอไป ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องเรียกทีมงานขายของบริษัทผู้จำหน่ายซอฟท์แวร์เข้า มารับข้อมูล และแสดงการใช้งานโปรแกรม เพื่อสอบถามเชิงลึกและแสดงการทำงานในแต่ละขั้นตอนให้ดูเลย อย่าหลงเชื่อเพียงว่า ทำได้แน่นอน รองรับอยู่แล้วครับ หากคุณไม่เห็นด้วยตาคุณเอง อย่าพึ่งปักใจเชื่อ หรืออาจจะสอบถามรายชื่อบริษัทที่มีลักษณะการทำงานคล้าย ๆ คุณ และลองโทรศัพท์ไปพูดคุยดู เพราะเขาเคยมีประสบการณ์มาก่อน และ นอกจากการที่ซอฟท์แวร์รองรับในเรื่องการ บันทึก หรือ key in ข้อมูลแล้ว ส่วนที่สำคัญอีกมาก ๆ ก็คือ รายงานเพื่อการวิเคราะห์จาก ข้อมูลที่ Key in เข้าไป ข้อมูลที่บันทึกไปนั้น อาจจะกลายเป็นแค่ข้อมูลที่อยู่ในฮารด์ดิสก์ ไม่สามารถจับต้องได้ หรือไม่สามารถนำมาสู่การวิเคราะห์ได้ หากซอฟท์แวร์ ERP นั้น ไม่รองรับในการแสดงผลรายงานออกมาตามต้องการในบางครั้งอาจจะต้องเสียเงิน เพิ่มเติม เพื่อให้ได้รายงานในรูปแบบที่เหมาะสมกับการวิเคราะห์สำหรับการบริหารการที่ จะให้ซอฟท์แวร์มาตรฐาน รองรับสำหรับธุรกิจของเราทุกอย่าง 100 % คงเป็นไปได้ยาก ดังนั้นการพยายามคัดเลือกซอฟท์แวร์จึงอาจทำได้เพียงแค่ให้รองรับของเรามาก ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แล้วหลังจากนั้นก็จะต้องสำรวจแนวทางการ customized program ในส่วนที่ยังไม่รองรับกันต่อไป

สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต การที่จะเป็น ERP นั้นจะต้องประกอบการทำงานที่รองรับทั้ง 3 ส่วนงานหลัก คือ
– Manufacturing
– Distribution
– Accounting
     ซึ่งปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟท์แวร์มาตรฐานเพื่อรองรับส่วนงานทั้ง 3 ส่วนนี้อย่างสมบูรณ์แบบ รายแรกและรายเดียวที่พัฒนาขึ้นโดยคนไทย เพื่อรองรับวัฒนธรรมการทำงานแบบไทย ๆ คือ ระบบ Forma/Formula  ERP ของบริษัท คริสตอลซอฟท์ จำกัด โดยมีบริษัท  บลูเบรน โซลูชั่น จำกัด เป็นตัวแทนจำหน่าย และ Implement ซอฟท์แวร์

สำหรับ ระบบ Forma/Formula ERP มีการรองรับส่วนงานทั้ง 3 ส่วน ดังต่อไปนี้

ต้นทุน และงบประมาณ
– สามารถรองรับการทำ JOB-ORDER COSTING/PROCESS COSTING และ HYBRID-PRODUCT COSTING SYSTEM รวมทั้ง ACTIVITY-BASED COSTING ได้อย่างแท้จริง เพื่อบริหารต้นทุนของแต่ละกิจกรรม หากเป็นอุตสาหกรรมการผลิตก็ยิ่งต้องการทราบว่าต้นทุนการผลิตตามแต่ละล็อตที่ ผลิตจริง ๆ นั้นมีต้นทุนมาจากต้นทุนวัตถุดิบทางตรง ต้นทุนแรงงานทางตรง เท่าไร เพื่อจะได้ทราบกำไร ขาดทุน เบื้องต้น บางครั้งส่งผลต่อการเจรจาธุรกิจ
– สามารถควบคุมงบประมาณในระดับโครงการและแผนงานอย่างได้ผล และการควบคุมงบประมาณนี้ สามารถควบคุมงบประมาณในโครงการที่ข้ามปีได้ไม่จำกัดปี และสามารถเปรียบเทียบยอดใช้จริงกับงบประมาณได้ตลอดเวลา
– มีรายงานในการวิเคราะห์หรือประเมินผลงานแยกตามหน่วยงาน เช่น งบกำไรขาดทุน งบค่าใช้จ่ายแยกแต่ละแผนหรือโครงการ
– รองรับฟังก์ชันการทำงานของส่วนงาน Distribution ซึ่งประกอบด้วย ระบบขาย ระบบซื้อ และ ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง

ระบบขาย
– เมื่อมีการจองหรือเปิดใบสั่งซื้อของลูกค้า สามารถทยอยส่งของได้จนกว่าจะหมดหรือสั่งยกเลิกใบสั่งซื้อนั้นได้
– ที่ใบสั่งซื้อ โปรแกรมจะควบคุมยอดที่ลูกค้าสั่งซื้อ และค้างส่งได้
– เมื่อบันทึกการขายโปรแกรม ช่วยตัดลูกหนี้ ตัดสต็อค เก็บข้อมูลเพื่อออกรายงานภาษีขาย เก็บสถิติการขาย และลงบัญชีให้ทันที (หรือจะยังไม่ลงบัญชี หรือลงบัญชีแล้วรอให้ฝ่ายบัญชีตรวจสอบก่อน แล้วจึงสั่ง Post ทีหลัง) และสามารถเรียกดูรายงานวิเคราะห์การขายได้ทันที
– รองรับการขายสินค้าเป็นชุด เป็น LOT เป็น Serial Number
– สามารถรองรับการระบุและจัดทำสินค้าโปรโมชั่นได้ เพื่อลดขั้นตอนการทำงานไม่ว่าจะเป็นการลดราคาหลายระดับในแต่ละรายการสินค้า ใน Invoice ใบเดียวกัน
– สามารถกำหนดนโยบายราคา ส่วนลด และการแถมสินค้าโดยคำนวณจากจำนวนสินค้า ที่เป็นแบบขั้นบันไดได้
– สามารถบันทึกรับเงินมัดจำโดยรับชำระเงินเป็นเงินสด เช็ค เงินโอน บัตรเครดิต ได้ตั้งแต่ขั้นตอนบันทึกใบสั่งขาย ใบส่งของและสามารถหักยอดกับใบเสร็จรับเงินให้อัตโนมัติ
– สามารถขายสินค้าได้โดยไม่ต้องผ่านการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า
– สามารถพิมพ์ดูรายการเอกสารของลูกหนี้-เจ้าหนี้รายตัวสรุปในแต่ละวันได้
– สามารถเรียกดูรายการยอดค้างรับของลูกหนี้รายตัวได้ พร้อมทั้งแสดงให้ทราบว่าค้างด้วยรายการเอกสารใบใดบ้าง
– สามารถวิเคราะห์อายุลูกหนี้และเจ้าหนี้รายตัวได้โดยแสดงเป็นยอดสรุปหรือ แสดงรายการเอกสารให้เห็นก็ได้
– สามารถอนุมัติได้ว่า จะขายสินค้าเกินวงเงินเครดิตได้หรือไม่ โดยสามารถกำหนดได้ว่าใครจะมีอำนาจในการอนุมัติได้บ้าง
– สามารถออกรายการสินค้าค้างส่งเพื่อติดตามส่งให้ลูกค้าในครั้งต่อไปได้
– สามารถกำหนดหน่วยนับคุม Stock สินค้าได้ 2 ระบบ พร้อม ๆ กัน โดยในแต่ละระบบจะมีหน่วยนับกี่หน่วยก็ได้ เช่นเหล็ก 3 เส้น หนัก 22 กิโลกรัม (เหล็กแต่ละเส้นไม่จำเป็นต้องมีน้ำหนักเท่ากัน)
– กำหนดรูปแบบการบริหารสต็อคได้เองว่าถ้าสินค้าในสต็อคไม่พอขาย จะยอมให้ขายสินค้านั้นไปก่อนหรือไม่

ระบบซื้อ
– สามารถกำหนดรูปแบบของเอกสารต่าง ๆ ได้ เช่น ใบสั่งซื้อ (PO) ใบรับสินค้า เป็นต้น
– รองรับสกุลเงินต่างประเทศได้ไม่จำกัดสกุลเงิน
– เก็บรายการสินค้าค้างส่งเพิ่มติดตามสินค้าของผู้ขายรายนั้น ๆ ในครั้งต่อไปได้
– เก็บสถิติการซื้อและลงบัญชีให้ทันที (หรือจะยังไม่ลงบัญชี หรือลงบัญชีไว้แต่ยังไม่สั่ง POST แล้วรอให้ฝ่ายบัญชีมาตรวจสอบรายการทีหลัง) และสามารถเรียกดูรายงานวิเคราะห์การซื้อได้ทันที
– พิมพ์รายงานภาษีซื้อตามแบบที่สรรพกรกำหนด
– พิมพ์รายงานภาษีซื้อยื่นเพิ่มเติม
– สามารถระบุ SERIAL NUMBER ของสินค้าในใบสั่งซื้อหรือในบิลซื้อได้
– รายงานการซื้อแยกตามผู้ขาย แยกตามสินค้า
– สรุปยอดซื้อแยกตามผู้ขาย (เปรียบเทียบ 12 เดือน)

ระบบสินค้าคงคลัง
– สามารถกำหนดคลังสินค้าได้หลายคลัง
สามารถเลือกวิธีการคิดต้นทุนได้หลากหลาย อาจจะทำได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แบบต้นทุนถัวเฉลี่ย (Weighted Average), แบบเข้าก่อน-ออกก่อน (FIFO : First-In First-Out), ต้นทุน Specify แบบระบุ LOT, และต้นทุน Specify แบบระบุ Serial
– สามารถวิเคราะห์สินค้าวัตถุดิบคงเหลือ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบซึ่งมีข้อมูลครบถ้วน ตามที่สรรพากรกำหนด สำหรับซอฟท์แวร์ที่พัฒนาเพื่อสนับสนุนการทำงานของธุรกิจในเมืองไทย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรองรับสรรพากรไทยด้วย
– สามารถรองรับการกำหนดสินค้าว่ามี จุดสั่งซื้อ (Re-Order Point) หรือสินค้าที่ถึงจุด Safety Stock พร้อมเตือนให้ทราบว่าต้องสั่งซื้อสินค้าชนิดใดเข้ามาเพิ่มในสต็อคเพื่อให้ การขายเป็นไปอย่างต่อเนื่อง * สามารถวิเคราะห์สถานะสินค้า เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของสินค้า
– สามารถวิเคราะห์รายสินค้าที่ไม่มีการขายหรือไม่มีการเคลื่อนไหว เพื่อการตัดสินใจจัดส่งเสริมการขาย ลดราคา แจก แถม อีกครั้ง
– สามารถวิเคราะห์สินค้าที่ถึงจุดสั่งซื้อ
– สามารถวิเคราะห์สินค้าค้างส่งแยกตามสินค้าตามวันที่นัดส่งของให้ลูกค้า
– สามารถทำใบรับสินค้าสำเร็จ ใบเบิกวัตถุดิบ ใบเบิกวัสดุสิ้นเปลือง ใบรับคืนวัตถุดิบ และใบรับคืนวัสดุสิ้นเปลืองแยกแต่ละแผนกได้
– สามารถแยกแยะรายการเบิกใช้วัตถุดิบ วัสดุสิ้นเปลืองรวมถึงการรับคืนของแต่ละหน่วยงานได้
เช่น ใบรับสินค้าสำเร็จเข้าคลัง ใบเบิกวัตถุดิบไปใช้ ใบเบิกวัสดุสิ้นเปลือง ใบรับคืนวัตถุดิบเหลือจากการผลิต
– สามารถออกแบบฟอร์มของเอกสารต่าง ๆ ได้ เช่น ใบเบิกวัตถุดิบ ใบเบิกวัสดุสิ้นเปลือง ฯลฯ
– สามารถกำหนดหน่วยนับคุม Stock สินค้าได้
– สามารถวิเคราะห์ต้นทุนสินค้าและวัตถุดิบแบบถัวเฉลี่ยและแบบ FIFO แยกแต่ละสาขาได้
– สามารถวิเคราะห์การใช้ไปของวัตถุดิบ วัสดุสิ้นเปลืองของแต่ละแผนกได้
– สามารถวิเคราะห์และตรวจสอบการใช้วัตถุดิบ วัสดุสิ้นเปลืองของแต่ละหน่วยงานได้

รองรับการทำงานของส่วนงานการเงินและการบัญชี
– กำหนดรูปแบบของเอกสารต่าง ๆ ได้เช่น ใบรับวางบิล (Billing Slip) ใบจ่ายเงิน (Receipt) และใบลดหนี้/ใบคืนสินค้า (Credit Note) เป็นต้น
– พิมพ์รายงานใบกำกับสินค้าที่ถึงกำหนดวางบิลพร้อมใบรับวางบิลแยกตามเจ้าหนี้
– พิมพ์รายงานใบรับวางบิลที่ถึงกำหนดจ่ายเงินแยกเจ้าหนี้แต่ละราย เพื่อช่วยการตรวจสอบ
– รับชำระหนี้ได้ง่ายโดยเลือก INVOICE ทั้งหมดหรือตัดจ่ายหนี้บางส่วนก็ได้
– สามารถวิเคราะห์สภาพหนี้ทั้งแบบละเอียดและสรุปเป็นรายเจ้าหนี้ได้
– พิมพ์ AGING REPORT ได้ทั้งแบบยอดสรุปหรือมีรายละเอียดแยก
– สามารถวิเคราะห์ยอดหนี้ค้างชำระแยกตามลูกค้า
– สามารถแสดงการ์ดเจ้าหนี้
– หากมีการซื้อขายกับต่างประเทศควรวิเคราะห์สรุปกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนได้

รองรับระบบงานทางด้านการผลิต (Manufacturing)
การวางแผนการผลิต
     ระบบการวางแผนการผลิตถูกออกแบบมาเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะการทำงานจริงใน ประเทศไทย จึงมีความยืดหยุ่นสูงสามารถปรับแผนการผลิตได้ทุกขั้นตอนก่อนทำการผลิตจริง เพราะในการผลิตจริงนั้นอาจมีการแทรก Order ที่เร่งด่วนได้ตลอดเวลา จึงอาจทำให้สิ่งที่วางแผนไว้ต้องทำการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาด้วย เพื่อให้ทันต่อความต้องการของตลาด ที่มีการแข่งขันสูงในสภาวะปัจจุบัน

การวางแผนวัตถุดิบ(Material Requirement Planning, MRP)
     การวางแผนความต้องการในการใช้วัตถุดิบ เพื่อให้สามารถจัดหาวัตถุดิบได้ในปริมาณที่เหมาะสม และทันตามเวลาที่ต้องการใช้ผลิตในแต่ละช่วงเวลา หลังจากที่ได้วางแผนการผลิตเรียบร้อยแล้ว ระบบสามารถ RUN MRP เพื่อประมวลผลความต้องการในการใช้วัตถุดิบ และสั่งผลิตสินค้าเพื่อให้สามารถผลิตได้ทัน ตามที่ได้วางแผนไว้ โดยระบบจะทำการเช็คยอดสต็อคที่มีอยู่ว่าเพียงพอสำหรับความต้องการหรือไม่ หากสต็อคมีไม่เพียงพอตามที่ต้องการ ระบบควรจะสามารถทำการสร้างใบขอซื้อให้อัตโนมัติ โดยระบบจะพิจารณาข้อมูล Lead Time ในการสั่งซื้อ เพื่อให้สามารถซื้อสินค้าเข้ามาทันตามเวลาที่ต้องการใช้ผลิต และระบบจะทำการสร้างเอกสารใบสั่งผลิต โดยพิจารณาข้อมูล Lead Time ในการผลิตด้วย เพื่อให้สามารถผลิตได้ทันตามกำหนดที่ต้องส่งมอบให้ลูกค้า

โครงสร้างผลิตภัณฑ์ (Product Structure)
     โครงสร้างของการผลิตสินค้าสำเร็จรูป ( FG ) แต่ละตัว ว่าต้องผ่านกระบวนการอะไร ผลิตที่ไหนและต้องใช้วัตถุดิบอะไรบ้าง ซึ่งประกอบด้วย BOM ( Bill Of Materials ) คือ สูตรการผลิตของสินค้า ซื่อประกอบด้วย วัตถุดิบที่ต้องใช้ ซึ่งอาจจะมีการระบุ วัตถุดิบทดแทน และ Semi Product ซึ่งอาจจะทำการจ้างผลิตจากภายนอก หรืออาจจะทำการผลิตเองก็ได้ ซึ่งระบบ Forma MRP จะมีการระบุ Sub BOM ในการผลิต Semi Product ได้ไม่จำกัดชั้น Routing คือ เส้นทางในการผลิตสินค้า ว่าจะผ่านกระบวนการผลิตอะไรบ้าง ซึ่งกระบวนการนั้นจะทำการผลิตที่สถานที่ตรงไหน และต้องใช้เครื่องจักรอะไรบ้างในการผลิต
แต่ละขั้นตอน

ธุรกรรมการเงินการธนาคาร
     เนื่องจากธุรกรรมการเงินการธนาคารจะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของระบบหลาย ๆ ส่วน และยังช่วยให้ผู้บริหาร สามารถทราบถึงสถานภาพการเงินในบัญชีธนาคารได้ทันที
– สามารถจัดทำรายการฝาก-ถอนเงินสด โอนเงินระหว่างธนาคาร รายการจ่าย ดอกเบี้ยธนาคาร ฯลฯ
– เมื่อบันทึกใบนำฝากเข้าธนาคาร (Pay-in Slip) ซึ่งหากโปรแกรมจะช่วยลงบัญชีให้อัตโนมัติ จะยิ่งดีมาก ๆ เพื่อลดขั้นตอนการทำงานลงได้
– สามารถบันทึกสถานะเช็คเพื่อ Update ข้อมูลตาม Bank Statement
– สามารถจัดทำรายการทางด้านเช็คนำฝากเช็คผ่าน และจัดการกับเช็คที่มีปัญหา (ทั้งเช็ครับและเช็คจ่าย)
– สามารถพิมพ์รายงานการเคลื่อนไหวของบัญชีธนาคาร ( Bank Statement ) ได้
– สามารถพิมพ์รายงานต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบหรือทำ Bank Reconcile ได้
– สามารถพิมพ์รายงาน Outstanding Cheque ได้
– รองรับการทำ Posted date cheque (เช็คล่วงหน้า) ระบุสถานะของเช็คได้ว่าเป็นเช็คผ่าน เช็คคืน หรือ เป็นเช็คยังไม่นำเข้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้บางองค์กรอาจเลือกใช้ตามความเหมาะสมอีกครั้งหนึ่งแต่ถ้าหากโปรแกรมรองรับก็จะเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับการทำงาน
– พิมพ์ทะเบียนเช็ครับมีปัญหาแยกตามลูกค้า
– สามารถออกแบบฟอร์มพิมพ์ใบนำฝากเข้าธนาคาร (Pay-in Slip)
– สามารถจัดพิมพ์รายงานทั้งเช็ครับและเช็คจ่าย เพื่อตรวจสอบได้
– สามารถพิมพ์ทะเบียนเช็คเรียงตามวันที่จ่ายได้
– สามารถพิมพ์เช็ครับ เช็คจ่าย เรียงตามวันที่เช็คได้
– สามารถพิมพ์เช็ครับเรียงตามลูกค้าและเรียงตามเจ้าหนี้ได้
– สามารถพิมพ์เช็คจ่ายเรียงตามเลขที่เช็ค เลขที่ใบสั่งจ่ายได้

บริหารสินทรัพย์
– สามารถบันทึกและเก็บประวัติของสินทรัพย์ได้
– เชื่อมโยงระหว่างระบบสินทรัพย์กับระบบบัญชีแยกประเภท ลงบัญชีให้อัตโนมัติ
– คำนวณค่าเสื่อมราคา ละเอียดระดับวัน
– สามารถเก็บประวัติการซ่อมบำรุงสินทรัพย์ และสามารถบันทึกค่าซ่อมบำรุงเพื่อคิดค่าเสื่อมให้ได้
– เลือกวิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ได้ ทั้งแบบเส้นตรง (STRAIGHTLINE) และแบบลดน้อยถอยลง (DECLINED) สามารถคิดค่าเสื่อมแยกตามหน่วยงานที่ใช้สินทรัพยนั้นอยู่ได้เพื่อบริหารต้น ทุนสินทรัพย์ในระดับลึกได้

การสั่งพิมพ์แบบฟอร์มพิมพ์ต่าง ๆ
– สามารถกำหนดและออกแบบแบบฟอร์มในการพิมพ์เอกสารได้ด้วยตนเอง และต้องสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เนื่องจากบางครั้งธุรกิจของเราอาจจะต้องยืดหยุ่นเรื่องการพิมพ์เอกสาร โดยเฉพาะเอกสารที่ส่งให้ลูกค้าเช่น ใบส่งของ/ใบเสร็จ ลูกค้าอาจจะต้องการให้เราใส่ข้อมูลบางอย่างเข้าไปให้ โดยลูกค้าแต่ละรายอาจจะไม่เหมือนกัน
     นอกจากซอฟท์แวร์ ERP น่าจะรองรับระบบงานต่าง ๆ ดังกล่าวมาข้างต้นทั้งหมดแล้วท้ายที่สุดสิ่งที่น่าจะเป็นหัวใจอีกอย่าง ก็คือความสามารถในการประมวลผลข้อมูลได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วถือว่าเป็น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมาก ๆ และขาดไม่ได้เพราะหากเรามีซอฟท์แวร์ที่รองรับได้มากมายแต่รูปแบบของการแสดงและประมวลผล ข้อมูลที่ให้ออกมา ไม่ถูกต้องก็เสมือนกับว่า….คุณมีเข็มทิศนำทางแต่ชี้ผิดทาง….

แนวคิด ERP ของ ASIA

ผู้ผลิต ERP ทั่วโลกจะต้องปรับแนวคิดในการมอง Asia ?, กลยุทธ์ที่รองรับขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป? โอกาสหรือภัยคุกคามของ ERP ไทย

อ่านต่อ »

ติดปีกธุรกิจ Forma/Formula ERP

การลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศ ถือเป็นการลงทุนแบบเชิงกลยุทธ์อย่างหนึ่งเพื่อสร้างการขับเคลื่อนให้เกิดข้อ ได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งในบางครั้งมีความจำเป็นที่จะ

อ่านต่อ »

ERP คือ

การวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP) เป็นการนำระบบงานทุกอย่างในองค์กรมาทำการเชื่อมโยงเข้าด้วยกันและมีการนำข้อมูลจากทุกแผนกงานต่าง ๆ นั้นนำมาใช้ร่วมกันเพื่อให้การดำเนินงานฯ

อ่านต่อ »

วางแผนเพื่อ ERP Implementation

การวางแผนเพื่อที่จะอิมพลีเมนต์ให้ประสบความสำเร็จ มีอยู่ 2 ส่วน คือ
ส่วนแรก : การจัดการกับการเปลี่ยนแปลง
ส่วนที่สอง : โครงสร้างของการอิมพลีเมนต์เอง

อ่านต่อ »