โปรแกรมบัญชี ที่ใช้งานดีที่สุดในประเทศ
Formula / Winning
ทำงานรวดเร็ว เสถียร ยืดหยุ่น ปลอดภัย
ใช้กันแพร่หลายทั่วประเทศ
โปรแกรม FORMA ERP
คุณภาพระดับสากล
World-class Software
FORMA ERP
Previous
Next
Categories
Treatise

การเตรียมตัวก่อนซื้อ SOFTWARE ERP

การเตรียมตัวก่อนซื้อ SOFTWARE ERP
     จากความจำเป็นทางธุรกิจ ที่จะต้องมีการพัฒนา และปรับปรุงประสิทธิภาพ ในการบริหารงาน อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ธุรกิจ สามารถที่จะแข่งขัน และอยู่รอดได้ ในตลาดการค้า ซึ่งนับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น จากระบบการค้าโลกที่ไร้ซึ่งพรมแดน ผู้ชนะและผู้ตัดสินใจที่ถูกต้องเท่านั้น ที่จะอยู่รอดได้ การตัดสินใจที่จะนำ IT (Information Technology) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ จึงเป็นสิ่งที่องค์กรธุรกิจในปัจจุบัน ไม่อาจที่จะหลีกเลี่ยงได้ เพราะเป็นสิ่งที่ ได้รับการพิสูจน์มาแล้ว อย่างยาวนานโดยไม่ต้องสงสัยว่า การนำ IT มาใช้อย่างเหมาะสม เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญยิ่ง ในการช่วยเพิ่มพัฒนาประสิทธิภาพ และประสิทธิผลขององค์กรในทุกระดับประกอบกับเทคโนโลยีด้านนี้ ก็ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีที่สูงส่ง หรือมีราคาแพงจนเกินเอื้อมอีกต่อไป หลายสิบปีที่ผ่านมา IT ได้พัฒนาไปมาก ทั้งประสิทธิภาพที่สูงขึ้น และราคาที่มีแต่จะลดต่ำลง การเลือก IT ที่เหมาะสมกับความต้องการ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ มากกว่าการที่จะตัดสินใจใช้ หรือไม่ใช้ IT เสียอีก เพราะองค์กรของท่าน อาจจะต้องการใช้ IT เพียงแค่คอมพิวเตอร์ PC Standalone เล็กๆ 1 เครื่องพร้อมกับโปรแกรมสำเร็จรูปชุด Office กับเครื่องพิมพ์อีก 1 เครื่องด้วยงบประมาณไม่ถึง 5 หมื่นบาท ก็อาจจะเพียงพอแล้ว ที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพงานได้ 2-10 เท่า หรือจะลงทุนระบบ ERP (Enterprise Resources Planning) เต็มรูปแบบบวกกับระบบ SCM (Supply Chain Management) บวกกับระบบ CRM (Customer Relationship Management) หรือระบบต่างๆ อีกมากมาย ที่ผู้ผลิตซอฟท์แวร์ จะสรรหามาให้คุณเลือกลงทุน ได้ด้วยงบลงทุน ตั้งแต่ไม่กี่แสนบาท จนถึงระดับหลายร้อยล้านบาทดังนั้นการตัดสินใจเลือก IT ที่ผิดพลาดโดยเฉพาะซอฟท์แวร์ นอกจากจะไม่ช่วย ให้องค์กรได้ประโยชน์อะไรแล้ว ยังอาจนำมาซึ่งความเสียหาย อย่างใหญ่หลวง ซึ่งความเสียหาย ไม่ใช่แค่ผู้รับผิดชอบ อาจต้องตกงานเท่านั้น แต่ธุรกิจของท่านที่สู้ฟันฝ่า และสะสมเงินทองมานับสิบๆปี อาจหมดไปในพริบตาเดียว ด้วยการลงทุน ในระบบซอฟท์แวร์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือใช้ไม่ได้จริง จะดันทุรังใช้ต่อ ก็รังแต่จะสร้างความเสียหาย ยิ่งขึ้นไปอีก จะขายต่อก็ไม่อาจขายได้เพราะซอฟท์แวร์เป็นสิทธิ์ในการใช้ ที่ผู้ขายมอบสิทธิ์ ให้เป็นเฉพาะรายไป คงเหลือไว้แต่ CD-ROM ไม่กี่แผ่น เอาไว้ให้คุณดูต่างหน้า ที่หาราคาค่างวดไม่ได้ ซึ่งทุกท่าน ที่กำลังมองหาซอฟท์แวร์มาใช้ คงไม่ต้องการที่จะประสบ กับเหตุการณ์ในลักษณะเช่นนั้น แต่การที่จะเลือกซอฟท์แวร์ให้เหมาะสมหรือถูกต้องได้นั้น ก็จำเป็นที่ผู้เลือก จะต้องมีความรู้ หรือมีการเตรียมการมาก่อนในระดับหนึ่ง เพราะซอฟท์แวร์หรือโปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ IT นั้น มีความเป็นนามธรรม หรือเป็นเป็นสิ่งที่จับต้องได้ยาก และมีความแตกต่าง ในรายระเอียดค่อนข้างมาก หรือบางทีอาจจะเป็นความต่าง ในความเหมือนที่ยากที่จะรู้ได้ หากไม่ได้สัมผัสลองใช้กันจริงๆ ตัวอย่างเช่น ในการทำงานของโปรแกรม 2 ตัว ทำงานในลักษณะเดียวกัน ทำได้เหมือนกันแต่ต่างวิธีกัน หากเปรียบเทียบการทำงาน ของโปรแกรมดั่งการเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ วิธีการแรกขึ้นเครื่องบินตรงไปได้เลย แต่อีกวิธีต้องนั่งรถไฟ ลงไปนครศรีธรรมราชก่อน แล้วค่อยต่อรถยนต์ไปขึ้นเครื่องบินที่ภูเก็ต เพื่อไปเชียงใหม่ จะเห็นได้ว่าไปถึงเชียงใหม่เหมือนกัน แต่ต้นทุนและเวลาที่ใช้ไม่เท่ากัน เป็นต้น
     ลักษณะของซอฟท์แวร์ ก็มักจะเป็นเช่นนี้เหมือนกัน ดังนั้นการหาข้อมูล ก่อนการตัดสินใจซื้อ จึงทำแบบสุกเอาเผากินไม่ได้ อย่าเชื่อเพียงเพราะบทความ ที่เขาเขียนลงวารสารที่ดูดี หรือจากคำโฆษณาใน Brochure หรือคำพูดของเจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย ที่ตอบเพียงแค่ ได้ครับ ได้ค่ะ แต่ไม่เคยลงในรายละเอียดว่า ได้จริงหรือเปล่า ได้อย่างไร มีข้อจำกัดอะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เพราะข่าวสารข้อมูล ที่ผู้ขายซอฟท์แวร์นำมาเสนอนั้น ล้วนละเลย และมองข้ามจุดบกพร่อง หรือจุดด้อยของซอฟท์แวร์นั้นไปทั้งสิ้น สิ่งที่นำเสนอ จึงกล่าวแต่ข้อดี ข้อมีประโยชน์ อันน่ารื่นรมย์เท่านั้น

     วัตถุประสงค์ของบทความนี้ ก็เพื่อจะเป็นแนวทางอย่างคร่าวๆ สำหรับผู้ที่กำลังมองหา ซอฟท์แวร์ระบบบัญชี หรือระบบ ERP หรือระบบ Accounting & Distribution มาใช้ในองค์กร ซึ่งแม้อาจไม่สามารถรับประกันได้ว่า เมื่อปฏิบัติตามแนวทางนี้แล้ว จะประสบความสำเร็จ 100% แต่เชื่อได้ว่า จะช่วยให้ท่าน เลือกซอฟท์แวร์ได้อย่างถูกต้อง ตรงตามความต้องการ และสามารถนำไปใช้งานได้จริง มากกว่าการที่ไม่ได้เตรียมการอะไรเลยในอดีตหลายองค์กรมักเริ่มต้นการใช้ IT ด้วยการพัฒนาระบบ Accounting & Distribution ขึ้นมาด้วยตนเอง ซึ่งอาจจะพัฒนา
ด้วยบุคคลากรภายใน(In-house Development) หรือจ้าง Software House มาพัฒนาให้ ตามความต้องการเฉพาะ แต่ละองค์กรนั้น ซึ่งการใช้วิธีพัฒนาเอง หรือจ้างพัฒนานี้ ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ที่แตกต่างกัน

ข้อดีของการพัฒนาซอฟท์แวร์เอง
1. ได้ระบบตรงตามความต้องการ 100% เพราะผู้พัฒนา ย่อมต้องทำโปรแกรม ตามที่ผู้ใช้ต้องการ โดยไม่มีเงื่อนไข
2. สามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ในการพัฒนาได้มากกว่า เช่น การเร่งเวลา การเพิ่มบุคคลากร การแก้ไขรายละเอียด (Specification) ของซอฟท์แวร์ และการรักษาความลับทางธุรกิจ เป็นต้น

ข้อเสียของการพัฒนาซอฟท์แวร์เอง
1. ต้นทุนในการพัฒนาจะสูง และควบคุมงบประมาณได้ยาก เพราะองค์กรต้องจ่ายเงินเดือนประจำให้โปรแกรมเมอร์ และต้องซื้อเครื่องไม้เครื่องมือ เพื่อการพัฒนาด้วยตนเอง แต่เพียงผู้เดียว ไม่อาจเฉลี่ยค่าใช้จ่าย ให้กับผู้อื่นได้ และมีความเสี่ยง หากทำเองแล้วไม่สำเร็จ
2. ค่าใช้จ่าย ในการบำรุงรักษาซอฟท์แวร์ จะสูงแปรผันตามการลงทุน ในการพัฒนาซอฟท์แวร์ เพราะจะต้อง ว่าจ้างโปรแกรมเมอร์ ที่เขียนงานไว้เพื่อดูแลระบบต่อไป อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งโดยปกติแล้ว กำลังงานที่ใช้ในการดูแล (Maintain) จะต้องน้อยกว่าขั้นตอนการพัฒนาเสมอ
3. องค์กรอาจถูกพนักงานโปรแกรมเมอร์ กลั่นแกล้งหรือต่อรอง กับองค์กร เพื่อประโยชน์ตนเอง ซึ่งองค์กร มักตกเป็นเบี้ยล่าง เพราะซอฟท์แวร์ ที่โปรแกรมเมอร์เขียนไว้ ไม่สามารถหาบุคคลอื่นมาดูแล หรือสานงานต่อได้ เมื่อโปรแกรมเมอร์ลาออก ก็ต้องทิ้งซอฟท์แวร์ตามไปด้วย หรือทนใช้ไป ท่ามกลางความเสี่ยง เหมือนยืนอยู่บนเส้นด้าย
4. องค์กรไม่อาจมุ่งทรัพยากรทั้งหมด เพื่อสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะ อุตสาหกรรม ที่ดำเนินการอยู่ได้อย่างแท้จริง เพราะต้องคอยมาบริหาร การพัฒนาซอฟท์แวร์ ควบคู่ไปด้วย ทั้งๆที่ไม่ใช่ความเชี่ยวชาญหลัก ขององค์กร
5. องค์กรมักตามไม่ทัน กับเทคโนโลยีด้าน IT ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เพราะบุคลากรภายใน ไม่ได้ถูกผลักดันจากภาวะการแข่งขัน ในการพัฒนาซอฟท์แวร์ กับองค์กรอื่น
6. บุคลากรหรือโปรแกรมเมอร์ ภายในองค์กร มักมีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญน้อยกว่า โปรแกรมเมอร์ จากบริษัท Software House หรือจากบริษัทผลิตซอฟท์แวร์สำเร็จรูป เพราะบริษัทเหล่านั้น มีการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ระหว่าง Senior Programmers และ Junior Programmers ได้อย่างทั่วถึง และมีการพัฒนาซอฟท์แวร์ ตลอดเวลา เป็นระยะเวลานาน ทำให้มีความเชี่ยวชาญ เป็นมืออาชีพมากกว่า
7. เมื่อความต้องการขององค์กรเปลี่ยนไป ในอนาคตตามสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ซอฟท์แวร์ที่พัฒนาไว้เดิม อาจไม่รองรับการเปลี่ยนแปลง หรือไม่มีความยืดหยุ่นพอ เพราะผู้ออกแบบซอฟท์แวร์ ไม่ได้เตรียมการไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากความไม่มีประสบการณ์ ความมักง่าย หรือ ความไม่รู้ หากโชคดีก็อาจจะพอแก้ไขกันได้ แต่หากโชคร้าย ก็ต้องพัฒนากันใหม่ เสียทั้งเงินทั้งเวลาอีกครั้ง

บทสรุปของการพัฒนาซอฟท์แวร์เอง
     รูปแบบการพัฒนาซอฟท์แวร์เองนี้ มักเป็นทางเลือกที่มีลักษณะเฉพาะอยู่มาก เช่น มักเป็นระบบ ที่เกี่ยวเนื่องกับความลับ หรือ Know How ขององค์กรที่ไม่ต้องการเปิดเผย ให้ผู้อื่นทราบ หรือต้องการความรวดเร็วเร่งด่วน ในการพัฒนา จากความต้องการ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เช่นระบบ Billing ของธุรกิจให้บริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย ที่มีโปรโมชั่นใหม่ทุกๆเดือน หรือระบบการขายแบบ MLM (Multi Level Marketing) ที่มีความซับซ้อน ในการขายและการคิด Commission เป็นต้น

ข้อดีของการจ้างพัฒนาซอฟท์แวร์
1. ได้ระบบตามข้อตกลงการว่าจ้าง ซึ่งขึ้นอยู่กับรายละเอียด และความชัดเจนของสัญญา
2. ต้นทุนในการพัฒนา และดูแลรักษาจะต่ำ กว่าการพัฒนาเอง เพราะเมื่อพัฒนาซอฟท์แวร์เสร็จแล้ว องค์กรไม่ต้องรับภาระเงินเดือน โปรแกรมเมอร์ต่อ และไม่ต้องลงทุน เครื่องมือในการพัฒนาระบบเอง
3. สามารถควบคุมงบประมาณ การพัฒนาได้ หากมีความรอบคอบ ในการกำหนดขอบเขต และความรับผิดชอบของคู่สัญญา
4. ลดความเสี่ยง จากการผูกมัดซอฟท์แวร์ กับตัวบุคคล คือบุคลากรขององค์กรเอง ทั้งความเสี่ยงจากการลาออก หรือไม่สามารถทำงานต่อไปได้
5. องค์กรสามารถ มุ่งพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านอื่น มากขึ้นโดยไม่ต้องกังวล กับงานการพัฒนาซอฟท์แวร์ ที่ตนเองไม่มีความเชี่ยวชาญ
6. ผู้รับจ้างเป็นผู้รับผิดชอบ ในความสำเร็จของงาน ในนามนิติบุคคล ซึ่งเป็นความผูกพันด้วยกฏหมายแพ่ง และพาณิชย์ จึงทำให้ลดความเสี่ยง ในการลงทุน กรณีทำไม่สำเร็จตามแผนงาน ที่กำหนดไว้

ข้อเสียจากการจ้างพัฒนาซอฟท์แวร์
1. ซอฟท์แวร์ที่ได้ จะขาดความยืดหยุ่น และขาดการเตรียมการ สำหรับ การเปลี่ยนแปลงซอฟท์แวร์ในอนาคต เพราะผู้รับจ้าง จะผลิตซอฟท์แวร์ด้วยวิธีการ ที่เร็วที่สุด ถูกที่สุด เพื่อประหยัดต้นทุน ในการพัฒนาและให้มีกำไร และจะพัฒนาตามรายละเอียด ข้อสัญญา ที่มีการระบุไว้ เท่านั้น
2. ซอฟท์แวร์ที่ได้ จะเป็นซอฟท์แวร์ที่ไม่ได้รับ การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หากต้องการจะเพิ่มความสามารถใหม่ๆ ก็ต้องมีการว่างจ้างเพิ่มเติมเป็นคราวๆ ไป
3. ต้นทุนการจ้างพัฒนา จะสูงกว่าซอฟท์แวร์มาตรฐาน เพราะเป็นการทำให้เฉพาะราย ซึ่งไม่เกิดการเฉลี่ยของต้นทุนไปสู่รายอื่นๆได้
4. ต้องผูกติดอยู่กับองค์กรที่รับจ้างเขียน ไม่สามารถจ้างผู้อื่น ดูแลรักษาระบบ แทนได้

บทสรุปของการจ้างพัฒนาซอฟท์แวร์
     การจ้างพัฒนาซอฟท์แวร์ โดยองค์กรภายนอก จะได้รับความนิยมหรือเหมาะสม ก็ต่อเมื่อองค์กร ไม่มีทางเลือก ที่จะใช้ซอฟท์แวร์มาตรฐาน และเป็นระบบ ที่ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลง ที่บ่อยมาก เป็นระบบที่เฉพาะเจาะจง ไม่สามารถทำซ้ำ เพื่อใช้ในองค์กรอื่นได้ เพราะหากซอฟท์แวร์ ที่จ้างพัฒนาไปนั้น สามารถนำไปทำซ้ำ เพื่อขายให้กับองค์กรอื่นได้ ท้ายที่สุดแล้ว ซอฟท์แวร์นั้น จะกลายเป็นซอฟท์แวร์มาตรฐาน ในที่สุดอยู่ดี

ข้อดีของซอฟท์แวร์มาตรฐาน
1. สามารถเลือกระดับการลงทุนได้ ตั้งแต่ไม่กี่พันบาท ไปจนถึงหลายล้านบาท ตามความสามารถของซอฟท์แวร์ และความต้องการขององค์กร ทำให้องค์กร มีทางเลือกที่หลากหลาย และเลือกลงทุนได้อย่างเหมาะสม
2. หากเป็นซอฟท์แวร์ ที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จะมีการเพิ่มเติมความสามารถใหม่ๆ ตามการเปลี่ยนแปลง ของภาวะทางธุรกิจอยู่เสมอ
3. มีผู้ใช้งานหลากหลาย หากเป็นซอฟท์แวร์ที่อยู่ในตลาดมานาน มีลูกค้าเป็นจำนวนมาก ก็จะลดความเสี่ยง กับการเจอ Bugของโปรแกรมขณะใช้งาน
4. สามารถชม และทดสอบความสามารถ ของซอฟท์แวร์ ก่อนการตัดสินใจซื้อ ทำให้เห็นภาพการทำงาน ของซอฟท์แวร์ ที่ชัดเจนว่า เวลาใช้งานจริง ต้องทำอย่างไร ติดปัญหาอะไร
5. มีทางเลือกที่หลากหลาย สามารถเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด หรือเหมาะที่สุด สำหรับองค์กร สามารถสอบถาม Reference จากผู้ใช้องค์กรอื่น เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน
6. มีการบริการบำรุงรักษา หรือบริการอื่นๆ จากผู้ขายหรือผู้ผลิตซอฟท์แวร์ ซึ่งอาจมีหรือไม่มี ค่าใช้จ่ายให้พิจารณาเรียกใช้ได้
7. มักติดตามเทคโนโลยีด้าน IT และนำมาใช้ผนวก กับซอฟท์แวร์มาตรฐาน เพราะถูกผลักดัน จากผู้ผลิต และผู้พัฒนา รายอื่นๆ

ข้อเสียของซอฟท์แวร์มาตรฐาน
1. ผู้ใช้ต้องปรับการทำงานให้เป็นไปตาม Flow หรือความสามารถของซอฟท์แวร์ ซึ่งรูปแบบการทำงานบางอย่าง ขององค์กร อาจต้องเปลี่ยนแปลงไป และอาจมีผลกระทบ กับการทำงาน ตามโครงสร้างองค์กรเดิม ซึ่งอาจเกิดการต่อต้าน จากพนักงาน ที่ยึดติดกับวิธีการทำงานแบบเดิมๆ
2. ความสามารถบางอย่าง ของซอฟท์แวร์ อาจไม่ตรงกับความต้องการขององค์กร ซอฟท์แวร์มาตรฐานบางตัว โดยเฉพาะจากตัวแทนขาย ที่ไม่ได้สิทธิในการแก้ไข โปรแกรมหรือไม่มี Source Code และซอฟท์แวร์ราคาถูก มักไม่รับแก้ไขซอฟท์แวร์ให้ ซึ่งอาจทำให้การใช้ซอฟท์แวร์ มีความยุ่งยาก หรืออาจใช้ไม่ได้ อย่างสมบูรณ์
3. การขอแก้ไขซอฟท์แวร์มาตรฐาน ที่มากเกินไป มักได้รับการปฏิเสธจากผู้ขาย หรือหากรับที่จะแก้ไข ก็จะเสี่ยงกับการเจอ Bug ของทำให้ซอฟท์แวร์ไม่มีเสถียรภาพ และประสบความยุ่งยากในการ Upgrade ซอฟท์แวร์ ใน Version ถัดๆไปหากการแก้ไขนั้น กระทบกับโครงสร้างหลัก ของซอฟท์แวร์มาตรฐาน
4. ก่อนการใช้งาน หากพิจารณาไม่รอบคอบพอ เมื่อซื้อมาแล้วพบว่า ความสามารถของซอฟท์แวร์ ไม่ตรงกับที่เข้าใจในตอนแรก หรือบางประเด็น อาจลืมพิจารณาลงไปในรายละเอียด เมื่อมาพบข้อจำกัดในภายหลัง มักจะประสบกับความยุ่งยาก กับผู้ขายจนเกิดเป็นประเด็นข้อพิพาท โดยเฉพาะหากชำระเงินไปหมดแล้วไม่สามารถคืนได้
5. ซอฟท์แวร์มาตรฐานบางตัว ที่เพิ่งทำเสร็จใหม่ๆ แต่รีบออกมาจำหน่าย ซึ่งไม่ได้รับการทดสอบมาเป็นอย่างดี เมื่อเวลานำไปใช้งานจริง กลับพบว่าผู้ใช้ ต้องกลายเป็น ผู้ทำการทดสอบโปรแกรมแทน หรือเป็น Bug Tester ให้ นอกจากจะทำให้เสียเวลา เสียเงิน และเสียกำลังคน ไปโดยเปล่าประโยชน์แล้ว ยังทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจ ไปอย่างน่าเสียดาย หากก่อนการซื้อ ไม่ได้ทดสอบซอฟท์แวร์มาตรฐานนั้น ดีพอ
6. กรณีซื้อซอฟท์แวร์มาตรฐานที่มีราคาแพง ที่ต้องมีการ Implement ซอฟท์แวร์ด้วยค่าใช้จ่ายที่สูง และคิดค่าบริการเป็นรายวัน มักมีการแยกสัญญา ระหว่างค่าซอฟท์แวร์มาตรฐานและค่า Implement และต้องจ่ายค่าซอฟท์แวร์ไปก่อน เมื่อตอนติดตั้ง ความเสี่ยง จึงตกกับผู้ซื้อ หาก Implement ไม่สำเร็จก็ไม่อาจเรียกร้องอะไรได้ ผู้ขายอาจเสนอให้ซื้อบริการ Implement เพิ่มเติมไปเรื่อยๆ แต่มักไม่ได้รับประกัน ว่าจะใช้ได้หรือไม่ หรือใช้ได้เมื่อไหร่ หากโครงการล้มเหลว ก็จะเกิดความเสียหาย กับผู้ซื้อในปริมาณการลงทุนที่สูงมาก

บทสรุปการใช้ซอฟท์แวร์มาตรฐาน
     ในการใช้ระบบ ERP หรือ ระบบ Accounting & Distribution ในยุคสมัยปัจจุบัน ไม่ควรเลือกวิธีการพัฒนาเอง หรือจ้างพัฒนา เพราะระบบ ERP เป็นระบบที่มีการพัฒนา มานานนับสิบปี และค่อนข้างมีความเป็นมาตรฐาน ที่ลงตัวแล้ว เป็นส่วนมาก อีกทั้งมีซอฟท์แวร์มาตรฐาน และผู้จัดจำหน่ายให้เลือกพิจารณาเป็นจำนวนมาก ในท้องตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ตั้งแต่ขนาดเล็กใช้งานบน PC Stand alone ธรรมดาๆไปจนถึงระบบบน Mini/Mainframe ขนาดใหญ่ องค์กร ควรเลือกใช้ระบบ ที่มีความสามารถ ที่เหมาะสม กับความต้องการ ด้วยงบประมาณการลงทุนที่คุ้มค่า ซึ่งวิธีการคัดเลือกระบบ ERP ที่เหมาะสมจะมีแนวทางอย่างไร ให้ประสบความสำเร็จจะได้กล่าวต่อไป
     หากความต้องการขององค์กร ไม่มีซอฟท์แวร์มาตรฐานตัวใดรองรับได้ ควรใช้วิธีพบกันครึ่งทาง คือพิจารณาดูว่า องค์กรสามารถปรับไปใช้ วิธีการของซอฟท์แวร์ได้หรือไม่ โดยเปรียบเทียบทั้งข้อดีและข้อเสีย เพราะวิธีการของซอฟท์แวร์มาตรฐาน มักพบว่าเป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับแล้ว โดยองค์กรส่วนใหญ่ หากพบว่าไม่สามารถใช้ได้ จึงควรใช้วิธีแก้ไข (Modify) ซอฟท์แวร์มาตรฐาน เป็นทางเลือกสุดท้าย

Categories
Treatise

ติดปีกธุรกิจ Forma/Formula ERP

ติดปีกธุรกิจ ให้สมบูรณ์แบบด้วยระบบ Forma/Formula ERP Solution
    การลงทุนในเทคโนโลยีสารสนเทศ ถือเป็นการลงทุนแบบเชิงกลยุทธ์อย่างหนึ่งเพื่อสร้างการขับเคลื่อนให้เกิดข้อ ได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งในบางครั้งมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาและปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ตรงตามความต้องการ ซึ่งมีความเฉพาะเจาะจงในแต่ละองค์กร ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหน้าที่งานของระบบเดิมและทั้งในส่วนที่จะปรับปรุง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้มีคุณค่ามากขึ้น ซึ่งจะต้องผสมผสานทั้งระบบเดิมและระบบใหม่ให้ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นพื้นฐานของการออกแบบระบบสารสนเทศขององค์กรจำเป็นที่จะต้องมีการออก แบบและพัฒนาให้ใช้งานได้คุ้มค่ากับที่ลงทุนไป โดยสามารถขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาองค์กรและธุรกิจต่อไปด้วย

     จากการสำรวจซอฟท์แวร์ ERP ที่มีจำหน่ายอยู่ในขณะนี้ พอสรุปแบบสังเขปได้ว่าซอฟท์แวร์ ERP เหล่านั้น ได้ถูกออกมาเพื่อรองรับธุรกิจได้หลากหลายประเภท ทั้งธุรกิจแบบซื้อมาขายไป ธุรกิจบริการ ธุรกิจนำเข้าและส่งออก บางซอฟท์แวร์เฉพาะเจาะจงลงไปเลยว่า ออกแบบมาเพื่อเฉพาะกับธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตบางประเภทเท่านั้น เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมยาและเคมีภัณฑ์ ธุรกิจจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ธุรกิจขนส่ง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม งานพื้นฐานของธุรกิจซึ่งมีความคล้ายคลึงกันอยู่จะต้องรองรับได้อย่างครบถ้วน และบางซอฟท์แวร์มีความสามารถรองรับการทำงาน ในระดับรายละเอียดมากกว่าที่งานพื้นฐานต้องการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้บาง
ธุรกิจต้องการ แต่บางธุรกิจก็ไม่ต้องการ จึงสรุปไม่ได้ว่า ซอฟท์แวร์ที่มี Features มากมาย จะเป็นซอฟท์แวร์ที่ดีที่สุดเสมอไป ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องเรียกทีมงานขายของบริษัทผู้จำหน่ายซอฟท์แวร์เข้า มารับข้อมูล และแสดงการใช้งานโปรแกรม เพื่อสอบถามเชิงลึกและแสดงการทำงานในแต่ละขั้นตอนให้ดูเลย อย่าหลงเชื่อเพียงว่า ทำได้แน่นอน รองรับอยู่แล้วครับ หากคุณไม่เห็นด้วยตาคุณเอง อย่าพึ่งปักใจเชื่อ หรืออาจจะสอบถามรายชื่อบริษัทที่มีลักษณะการทำงานคล้าย ๆ คุณ และลองโทรศัพท์ไปพูดคุยดู เพราะเขาเคยมีประสบการณ์มาก่อน และ นอกจากการที่ซอฟท์แวร์รองรับในเรื่องการ บันทึก หรือ key in ข้อมูลแล้ว ส่วนที่สำคัญอีกมาก ๆ ก็คือ รายงานเพื่อการวิเคราะห์จาก ข้อมูลที่ Key in เข้าไป ข้อมูลที่บันทึกไปนั้น อาจจะกลายเป็นแค่ข้อมูลที่อยู่ในฮารด์ดิสก์ ไม่สามารถจับต้องได้ หรือไม่สามารถนำมาสู่การวิเคราะห์ได้ หากซอฟท์แวร์ ERP นั้น ไม่รองรับในการแสดงผลรายงานออกมาตามต้องการในบางครั้งอาจจะต้องเสียเงิน เพิ่มเติม เพื่อให้ได้รายงานในรูปแบบที่เหมาะสมกับการวิเคราะห์สำหรับการบริหารการที่ จะให้ซอฟท์แวร์มาตรฐาน รองรับสำหรับธุรกิจของเราทุกอย่าง 100 % คงเป็นไปได้ยาก ดังนั้นการพยายามคัดเลือกซอฟท์แวร์จึงอาจทำได้เพียงแค่ให้รองรับของเรามาก ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แล้วหลังจากนั้นก็จะต้องสำรวจแนวทางการ customized program ในส่วนที่ยังไม่รองรับกันต่อไป

สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต การที่จะเป็น ERP นั้นจะต้องประกอบการทำงานที่รองรับทั้ง 3 ส่วนงานหลัก คือ
– Manufacturing
– Distribution
– Accounting
     ซึ่งปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟท์แวร์มาตรฐานเพื่อรองรับส่วนงานทั้ง 3 ส่วนนี้อย่างสมบูรณ์แบบ รายแรกและรายเดียวที่พัฒนาขึ้นโดยคนไทย เพื่อรองรับวัฒนธรรมการทำงานแบบไทย ๆ คือ ระบบ Forma/Formula  ERP ของบริษัท คริสตอลซอฟท์ จำกัด โดยมีบริษัท  บลูเบรน โซลูชั่น จำกัด เป็นตัวแทนจำหน่าย และ Implement ซอฟท์แวร์

สำหรับ ระบบ Forma/Formula ERP มีการรองรับส่วนงานทั้ง 3 ส่วน ดังต่อไปนี้

ต้นทุน และงบประมาณ
– สามารถรองรับการทำ JOB-ORDER COSTING/PROCESS COSTING และ HYBRID-PRODUCT COSTING SYSTEM รวมทั้ง ACTIVITY-BASED COSTING ได้อย่างแท้จริง เพื่อบริหารต้นทุนของแต่ละกิจกรรม หากเป็นอุตสาหกรรมการผลิตก็ยิ่งต้องการทราบว่าต้นทุนการผลิตตามแต่ละล็อตที่ ผลิตจริง ๆ นั้นมีต้นทุนมาจากต้นทุนวัตถุดิบทางตรง ต้นทุนแรงงานทางตรง เท่าไร เพื่อจะได้ทราบกำไร ขาดทุน เบื้องต้น บางครั้งส่งผลต่อการเจรจาธุรกิจ
– สามารถควบคุมงบประมาณในระดับโครงการและแผนงานอย่างได้ผล และการควบคุมงบประมาณนี้ สามารถควบคุมงบประมาณในโครงการที่ข้ามปีได้ไม่จำกัดปี และสามารถเปรียบเทียบยอดใช้จริงกับงบประมาณได้ตลอดเวลา
– มีรายงานในการวิเคราะห์หรือประเมินผลงานแยกตามหน่วยงาน เช่น งบกำไรขาดทุน งบค่าใช้จ่ายแยกแต่ละแผนหรือโครงการ
– รองรับฟังก์ชันการทำงานของส่วนงาน Distribution ซึ่งประกอบด้วย ระบบขาย ระบบซื้อ และ ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง

ระบบขาย
– เมื่อมีการจองหรือเปิดใบสั่งซื้อของลูกค้า สามารถทยอยส่งของได้จนกว่าจะหมดหรือสั่งยกเลิกใบสั่งซื้อนั้นได้
– ที่ใบสั่งซื้อ โปรแกรมจะควบคุมยอดที่ลูกค้าสั่งซื้อ และค้างส่งได้
– เมื่อบันทึกการขายโปรแกรม ช่วยตัดลูกหนี้ ตัดสต็อค เก็บข้อมูลเพื่อออกรายงานภาษีขาย เก็บสถิติการขาย และลงบัญชีให้ทันที (หรือจะยังไม่ลงบัญชี หรือลงบัญชีแล้วรอให้ฝ่ายบัญชีตรวจสอบก่อน แล้วจึงสั่ง Post ทีหลัง) และสามารถเรียกดูรายงานวิเคราะห์การขายได้ทันที
– รองรับการขายสินค้าเป็นชุด เป็น LOT เป็น Serial Number
– สามารถรองรับการระบุและจัดทำสินค้าโปรโมชั่นได้ เพื่อลดขั้นตอนการทำงานไม่ว่าจะเป็นการลดราคาหลายระดับในแต่ละรายการสินค้า ใน Invoice ใบเดียวกัน
– สามารถกำหนดนโยบายราคา ส่วนลด และการแถมสินค้าโดยคำนวณจากจำนวนสินค้า ที่เป็นแบบขั้นบันไดได้
– สามารถบันทึกรับเงินมัดจำโดยรับชำระเงินเป็นเงินสด เช็ค เงินโอน บัตรเครดิต ได้ตั้งแต่ขั้นตอนบันทึกใบสั่งขาย ใบส่งของและสามารถหักยอดกับใบเสร็จรับเงินให้อัตโนมัติ
– สามารถขายสินค้าได้โดยไม่ต้องผ่านการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า
– สามารถพิมพ์ดูรายการเอกสารของลูกหนี้-เจ้าหนี้รายตัวสรุปในแต่ละวันได้
– สามารถเรียกดูรายการยอดค้างรับของลูกหนี้รายตัวได้ พร้อมทั้งแสดงให้ทราบว่าค้างด้วยรายการเอกสารใบใดบ้าง
– สามารถวิเคราะห์อายุลูกหนี้และเจ้าหนี้รายตัวได้โดยแสดงเป็นยอดสรุปหรือ แสดงรายการเอกสารให้เห็นก็ได้
– สามารถอนุมัติได้ว่า จะขายสินค้าเกินวงเงินเครดิตได้หรือไม่ โดยสามารถกำหนดได้ว่าใครจะมีอำนาจในการอนุมัติได้บ้าง
– สามารถออกรายการสินค้าค้างส่งเพื่อติดตามส่งให้ลูกค้าในครั้งต่อไปได้
– สามารถกำหนดหน่วยนับคุม Stock สินค้าได้ 2 ระบบ พร้อม ๆ กัน โดยในแต่ละระบบจะมีหน่วยนับกี่หน่วยก็ได้ เช่นเหล็ก 3 เส้น หนัก 22 กิโลกรัม (เหล็กแต่ละเส้นไม่จำเป็นต้องมีน้ำหนักเท่ากัน)
– กำหนดรูปแบบการบริหารสต็อคได้เองว่าถ้าสินค้าในสต็อคไม่พอขาย จะยอมให้ขายสินค้านั้นไปก่อนหรือไม่

ระบบซื้อ
– สามารถกำหนดรูปแบบของเอกสารต่าง ๆ ได้ เช่น ใบสั่งซื้อ (PO) ใบรับสินค้า เป็นต้น
– รองรับสกุลเงินต่างประเทศได้ไม่จำกัดสกุลเงิน
– เก็บรายการสินค้าค้างส่งเพิ่มติดตามสินค้าของผู้ขายรายนั้น ๆ ในครั้งต่อไปได้
– เก็บสถิติการซื้อและลงบัญชีให้ทันที (หรือจะยังไม่ลงบัญชี หรือลงบัญชีไว้แต่ยังไม่สั่ง POST แล้วรอให้ฝ่ายบัญชีมาตรวจสอบรายการทีหลัง) และสามารถเรียกดูรายงานวิเคราะห์การซื้อได้ทันที
– พิมพ์รายงานภาษีซื้อตามแบบที่สรรพกรกำหนด
– พิมพ์รายงานภาษีซื้อยื่นเพิ่มเติม
– สามารถระบุ SERIAL NUMBER ของสินค้าในใบสั่งซื้อหรือในบิลซื้อได้
– รายงานการซื้อแยกตามผู้ขาย แยกตามสินค้า
– สรุปยอดซื้อแยกตามผู้ขาย (เปรียบเทียบ 12 เดือน)

ระบบสินค้าคงคลัง
– สามารถกำหนดคลังสินค้าได้หลายคลัง
สามารถเลือกวิธีการคิดต้นทุนได้หลากหลาย อาจจะทำได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แบบต้นทุนถัวเฉลี่ย (Weighted Average), แบบเข้าก่อน-ออกก่อน (FIFO : First-In First-Out), ต้นทุน Specify แบบระบุ LOT, และต้นทุน Specify แบบระบุ Serial
– สามารถวิเคราะห์สินค้าวัตถุดิบคงเหลือ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบซึ่งมีข้อมูลครบถ้วน ตามที่สรรพากรกำหนด สำหรับซอฟท์แวร์ที่พัฒนาเพื่อสนับสนุนการทำงานของธุรกิจในเมืองไทย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรองรับสรรพากรไทยด้วย
– สามารถรองรับการกำหนดสินค้าว่ามี จุดสั่งซื้อ (Re-Order Point) หรือสินค้าที่ถึงจุด Safety Stock พร้อมเตือนให้ทราบว่าต้องสั่งซื้อสินค้าชนิดใดเข้ามาเพิ่มในสต็อคเพื่อให้ การขายเป็นไปอย่างต่อเนื่อง * สามารถวิเคราะห์สถานะสินค้า เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของสินค้า
– สามารถวิเคราะห์รายสินค้าที่ไม่มีการขายหรือไม่มีการเคลื่อนไหว เพื่อการตัดสินใจจัดส่งเสริมการขาย ลดราคา แจก แถม อีกครั้ง
– สามารถวิเคราะห์สินค้าที่ถึงจุดสั่งซื้อ
– สามารถวิเคราะห์สินค้าค้างส่งแยกตามสินค้าตามวันที่นัดส่งของให้ลูกค้า
– สามารถทำใบรับสินค้าสำเร็จ ใบเบิกวัตถุดิบ ใบเบิกวัสดุสิ้นเปลือง ใบรับคืนวัตถุดิบ และใบรับคืนวัสดุสิ้นเปลืองแยกแต่ละแผนกได้
– สามารถแยกแยะรายการเบิกใช้วัตถุดิบ วัสดุสิ้นเปลืองรวมถึงการรับคืนของแต่ละหน่วยงานได้
เช่น ใบรับสินค้าสำเร็จเข้าคลัง ใบเบิกวัตถุดิบไปใช้ ใบเบิกวัสดุสิ้นเปลือง ใบรับคืนวัตถุดิบเหลือจากการผลิต
– สามารถออกแบบฟอร์มของเอกสารต่าง ๆ ได้ เช่น ใบเบิกวัตถุดิบ ใบเบิกวัสดุสิ้นเปลือง ฯลฯ
– สามารถกำหนดหน่วยนับคุม Stock สินค้าได้
– สามารถวิเคราะห์ต้นทุนสินค้าและวัตถุดิบแบบถัวเฉลี่ยและแบบ FIFO แยกแต่ละสาขาได้
– สามารถวิเคราะห์การใช้ไปของวัตถุดิบ วัสดุสิ้นเปลืองของแต่ละแผนกได้
– สามารถวิเคราะห์และตรวจสอบการใช้วัตถุดิบ วัสดุสิ้นเปลืองของแต่ละหน่วยงานได้

รองรับการทำงานของส่วนงานการเงินและการบัญชี
– กำหนดรูปแบบของเอกสารต่าง ๆ ได้เช่น ใบรับวางบิล (Billing Slip) ใบจ่ายเงิน (Receipt) และใบลดหนี้/ใบคืนสินค้า (Credit Note) เป็นต้น
– พิมพ์รายงานใบกำกับสินค้าที่ถึงกำหนดวางบิลพร้อมใบรับวางบิลแยกตามเจ้าหนี้
– พิมพ์รายงานใบรับวางบิลที่ถึงกำหนดจ่ายเงินแยกเจ้าหนี้แต่ละราย เพื่อช่วยการตรวจสอบ
– รับชำระหนี้ได้ง่ายโดยเลือก INVOICE ทั้งหมดหรือตัดจ่ายหนี้บางส่วนก็ได้
– สามารถวิเคราะห์สภาพหนี้ทั้งแบบละเอียดและสรุปเป็นรายเจ้าหนี้ได้
– พิมพ์ AGING REPORT ได้ทั้งแบบยอดสรุปหรือมีรายละเอียดแยก
– สามารถวิเคราะห์ยอดหนี้ค้างชำระแยกตามลูกค้า
– สามารถแสดงการ์ดเจ้าหนี้
– หากมีการซื้อขายกับต่างประเทศควรวิเคราะห์สรุปกำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนได้

รองรับระบบงานทางด้านการผลิต (Manufacturing)
การวางแผนการผลิต
     ระบบการวางแผนการผลิตถูกออกแบบมาเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะการทำงานจริงใน ประเทศไทย จึงมีความยืดหยุ่นสูงสามารถปรับแผนการผลิตได้ทุกขั้นตอนก่อนทำการผลิตจริง เพราะในการผลิตจริงนั้นอาจมีการแทรก Order ที่เร่งด่วนได้ตลอดเวลา จึงอาจทำให้สิ่งที่วางแผนไว้ต้องทำการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาด้วย เพื่อให้ทันต่อความต้องการของตลาด ที่มีการแข่งขันสูงในสภาวะปัจจุบัน

การวางแผนวัตถุดิบ(Material Requirement Planning, MRP)
     การวางแผนความต้องการในการใช้วัตถุดิบ เพื่อให้สามารถจัดหาวัตถุดิบได้ในปริมาณที่เหมาะสม และทันตามเวลาที่ต้องการใช้ผลิตในแต่ละช่วงเวลา หลังจากที่ได้วางแผนการผลิตเรียบร้อยแล้ว ระบบสามารถ RUN MRP เพื่อประมวลผลความต้องการในการใช้วัตถุดิบ และสั่งผลิตสินค้าเพื่อให้สามารถผลิตได้ทัน ตามที่ได้วางแผนไว้ โดยระบบจะทำการเช็คยอดสต็อคที่มีอยู่ว่าเพียงพอสำหรับความต้องการหรือไม่ หากสต็อคมีไม่เพียงพอตามที่ต้องการ ระบบควรจะสามารถทำการสร้างใบขอซื้อให้อัตโนมัติ โดยระบบจะพิจารณาข้อมูล Lead Time ในการสั่งซื้อ เพื่อให้สามารถซื้อสินค้าเข้ามาทันตามเวลาที่ต้องการใช้ผลิต และระบบจะทำการสร้างเอกสารใบสั่งผลิต โดยพิจารณาข้อมูล Lead Time ในการผลิตด้วย เพื่อให้สามารถผลิตได้ทันตามกำหนดที่ต้องส่งมอบให้ลูกค้า

โครงสร้างผลิตภัณฑ์ (Product Structure)
     โครงสร้างของการผลิตสินค้าสำเร็จรูป ( FG ) แต่ละตัว ว่าต้องผ่านกระบวนการอะไร ผลิตที่ไหนและต้องใช้วัตถุดิบอะไรบ้าง ซึ่งประกอบด้วย BOM ( Bill Of Materials ) คือ สูตรการผลิตของสินค้า ซื่อประกอบด้วย วัตถุดิบที่ต้องใช้ ซึ่งอาจจะมีการระบุ วัตถุดิบทดแทน และ Semi Product ซึ่งอาจจะทำการจ้างผลิตจากภายนอก หรืออาจจะทำการผลิตเองก็ได้ ซึ่งระบบ Forma MRP จะมีการระบุ Sub BOM ในการผลิต Semi Product ได้ไม่จำกัดชั้น Routing คือ เส้นทางในการผลิตสินค้า ว่าจะผ่านกระบวนการผลิตอะไรบ้าง ซึ่งกระบวนการนั้นจะทำการผลิตที่สถานที่ตรงไหน และต้องใช้เครื่องจักรอะไรบ้างในการผลิต
แต่ละขั้นตอน

ธุรกรรมการเงินการธนาคาร
     เนื่องจากธุรกรรมการเงินการธนาคารจะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของระบบหลาย ๆ ส่วน และยังช่วยให้ผู้บริหาร สามารถทราบถึงสถานภาพการเงินในบัญชีธนาคารได้ทันที
– สามารถจัดทำรายการฝาก-ถอนเงินสด โอนเงินระหว่างธนาคาร รายการจ่าย ดอกเบี้ยธนาคาร ฯลฯ
– เมื่อบันทึกใบนำฝากเข้าธนาคาร (Pay-in Slip) ซึ่งหากโปรแกรมจะช่วยลงบัญชีให้อัตโนมัติ จะยิ่งดีมาก ๆ เพื่อลดขั้นตอนการทำงานลงได้
– สามารถบันทึกสถานะเช็คเพื่อ Update ข้อมูลตาม Bank Statement
– สามารถจัดทำรายการทางด้านเช็คนำฝากเช็คผ่าน และจัดการกับเช็คที่มีปัญหา (ทั้งเช็ครับและเช็คจ่าย)
– สามารถพิมพ์รายงานการเคลื่อนไหวของบัญชีธนาคาร ( Bank Statement ) ได้
– สามารถพิมพ์รายงานต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบหรือทำ Bank Reconcile ได้
– สามารถพิมพ์รายงาน Outstanding Cheque ได้
– รองรับการทำ Posted date cheque (เช็คล่วงหน้า) ระบุสถานะของเช็คได้ว่าเป็นเช็คผ่าน เช็คคืน หรือ เป็นเช็คยังไม่นำเข้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้บางองค์กรอาจเลือกใช้ตามความเหมาะสมอีกครั้งหนึ่งแต่ถ้าหากโปรแกรมรองรับก็จะเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับการทำงาน
– พิมพ์ทะเบียนเช็ครับมีปัญหาแยกตามลูกค้า
– สามารถออกแบบฟอร์มพิมพ์ใบนำฝากเข้าธนาคาร (Pay-in Slip)
– สามารถจัดพิมพ์รายงานทั้งเช็ครับและเช็คจ่าย เพื่อตรวจสอบได้
– สามารถพิมพ์ทะเบียนเช็คเรียงตามวันที่จ่ายได้
– สามารถพิมพ์เช็ครับ เช็คจ่าย เรียงตามวันที่เช็คได้
– สามารถพิมพ์เช็ครับเรียงตามลูกค้าและเรียงตามเจ้าหนี้ได้
– สามารถพิมพ์เช็คจ่ายเรียงตามเลขที่เช็ค เลขที่ใบสั่งจ่ายได้

บริหารสินทรัพย์
– สามารถบันทึกและเก็บประวัติของสินทรัพย์ได้
– เชื่อมโยงระหว่างระบบสินทรัพย์กับระบบบัญชีแยกประเภท ลงบัญชีให้อัตโนมัติ
– คำนวณค่าเสื่อมราคา ละเอียดระดับวัน
– สามารถเก็บประวัติการซ่อมบำรุงสินทรัพย์ และสามารถบันทึกค่าซ่อมบำรุงเพื่อคิดค่าเสื่อมให้ได้
– เลือกวิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ได้ ทั้งแบบเส้นตรง (STRAIGHTLINE) และแบบลดน้อยถอยลง (DECLINED) สามารถคิดค่าเสื่อมแยกตามหน่วยงานที่ใช้สินทรัพยนั้นอยู่ได้เพื่อบริหารต้น ทุนสินทรัพย์ในระดับลึกได้

การสั่งพิมพ์แบบฟอร์มพิมพ์ต่าง ๆ
– สามารถกำหนดและออกแบบแบบฟอร์มในการพิมพ์เอกสารได้ด้วยตนเอง และต้องสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เนื่องจากบางครั้งธุรกิจของเราอาจจะต้องยืดหยุ่นเรื่องการพิมพ์เอกสาร โดยเฉพาะเอกสารที่ส่งให้ลูกค้าเช่น ใบส่งของ/ใบเสร็จ ลูกค้าอาจจะต้องการให้เราใส่ข้อมูลบางอย่างเข้าไปให้ โดยลูกค้าแต่ละรายอาจจะไม่เหมือนกัน
     นอกจากซอฟท์แวร์ ERP น่าจะรองรับระบบงานต่าง ๆ ดังกล่าวมาข้างต้นทั้งหมดแล้วท้ายที่สุดสิ่งที่น่าจะเป็นหัวใจอีกอย่าง ก็คือความสามารถในการประมวลผลข้อมูลได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วถือว่าเป็น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมาก ๆ และขาดไม่ได้เพราะหากเรามีซอฟท์แวร์ที่รองรับได้มากมายแต่รูปแบบของการแสดงและประมวลผล ข้อมูลที่ให้ออกมา ไม่ถูกต้องก็เสมือนกับว่า….คุณมีเข็มทิศนำทางแต่ชี้ผิดทาง….

Categories
Treatise

เปิดเกมรุกธุรกิจด้วยระบบ
Forma/Formula ERP

  ซอฟท์แวร์ ERP คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร
   ไม่มีคำว่าสายเกินไปสำหรับการพัฒนา ปรับปรุงขบวนการ เพื่อเปลี่ยนสถานภาพจากเชิงรับไปเป็นเชิงรุกหรือถ้าเป็นเชิงรุกอยู่ก็ให้รุกมากขึ้น ไม่เพียงแค่ได้ตรงตามความต้องการ (Expectation) แต่ต้องให้เหนือกว่าความต้องการ (Beyond Expectation) …………….ทำไมเราจะไม่เริ่มเสียตั้งแต่วันนี้ ?

    หากคุณต้องการเพิ่มกำไร ขยายตลาด มัดใจลูกค้า ใช้ทรัพยากรคุ้มค่า และแซงขาดคู่แข่ง “ผู้บริหารสมัยใหม่ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าระบบสารสนเทศนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรมากมายเพียงไร” วันนี้เราจึงมาดูกันว่า  ระบบสารสนเทศที่เป็นซอฟท์แวร์ ERP (Enterprise Resources Planning)ทำไมถึงเข้ามามีบทบาทต่อการบริหาร และการทำธุรกิจสมัยใหม่ (Modern Management and NewEconomy) และ ซอฟท์แวร์ ERP ที่ดีควรเป็นอย่างไร ?

    ซอฟท์แวร์ ERP เป็นระบบสารสนเทศที่เข้าไปอำนวยความสะดวกในการทำงานทุกกระบวนการ (business process) และในทุกหน่วยงานขององค์การ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลของทุกกระบวนการและทุกหน่วยงานนั้นเข้าสู่ฐานข้อมูลส่วนกลางที่เป็นฐานข้อมูลเดียวกัน (Single Database) ทั้งนี้เพื่อทำมีข้อมูลที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ลดเวลาการทำงาน ลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน ลดความผิดพลาดและความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องการสื่อสารระหว่างหน่วยงานภายในกันเอง หรือกับหน่วยงานภายนอกซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในทุก ๆ กระบวนการของธุรกิจให้ได้ประโยชน์อย่างสูงสุด แต่ ERP ไม่ได้เป็นเพียงแค่เครื่องมือในการจัดการในระดับการปฏิบัติงาน Business transaction เท่านั้นแต่ยังสามารถช่วยผู้บริหารสำหรับการตัดสินใจระดับ Tactical Level ด้วย

    ยกตัวอย่างเช่น การวิเคราะห์งบการเงิน (Financial Analysis) ผู้บริหารสามารถได้ข้อมูลทันทีและถูกต้องเมื่อต้องการ ทำให้การตัดสินใจอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง (Management by fact) เป็นต้น

    ในแต่ละวันนั้นชั่วโมงการทำงานของพนักงานมีจำกัดเพียงคนละ 7-8 ชั่วโมง หากเรากำลังต้องการขยายธุรกิจ ขยายตลาด  ขยายโอกาสเพื่อรองรับจำนวนลูกค้าที่มีปริมาณมากขึ้น โดยยังคงรักษาระดับของต้นทุนการบริหารมิให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก องค์การของเราจะต้องเตรียมวิธีการรองรับการจัดทำเอกสาร (Operational Transaction) ที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าทั้งภายในและภายนอกเหล่านั้นวันละเป็นร้อย ๆหรือ พัน ๆ ใบ ต่อวัน ท่านคิดว่าจะต้องใช้พนักงานจำนวนมากเพียงไร หรือต้องเพิ่มเวลา OT (Over Time) มากเท่าไร หากยังคงต้องทำงานด้วยวิธีแบบเดิม ๆ คือ การทำงานด้วยระบบ Manual ในกระบวนการทำงานในขั้นตอนต่าง ๆ เช่น ขบวนการออกบิลให้ลูกค้า ขบวนการ วางแผนผลิต ขบวนการจัดซื้อ ขบวนการจัดการกับลูกหนี้และเจ้าหนี้ การวางบิล ขบวนการควบคุมสินค้าคงคลัง ขบวนการทางด้านบัญชีและการเงิน บัญชีเงินฝากและธนาคาร ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงแค่เรื่องของภาระงานปกติเท่านั้นยังไม่รวมถึงเวลาที่ต้องใช้ในการทำให้ข้อมูลถูกต้อง ยิ่งไปกว่านั้นเราได้ใช้ทรัพยากรที่ถือได้ว่ามีคุณค่า(Most valuable resources) สำหรับบริษัทด้เหมาะสมหรือไม่

    ตัวช่วยที่สำคัญเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับรองรับโอกาสเหล่านี้ ก็คือการนำเทคโนโลยีซอฟท์แวร์ระบบ ERP มาใช้เพื่อลดความซ้ำซ้อน ซับซ้อน และลดเวลาการทำงานเดิมและหาโอกาสเพิ่มมูลค่างานของพนักงานเหล่านั้น เช่น การวิเคราะห์ ผลการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น ผลของการติดตาม ลูกหนี้ที่เกิดขึ้น การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า รวมถึง การหาโอกาสเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การจัดทำรายงานนำเสนอกับผู้บริหารเพื่อประกอบการตัดสินใจ ที่ถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็ว โดยเฉพาะเพื่อให้ผู้บริหารมีข้อมูลที่ทันสมัยและรวดเร็ว ในการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสอุปสรรค  ของบริษัทเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

    วันนี้อาจมีผู้บริหารหลายท่านกำลังมองหาวิธีการหรือเครื่องมือเพื่อช่วยให้ต้นทุนในองค์กรของคุณต่ำลงในระยะยาว นั่นคือ คุณอาจกำลังมองหาซอฟท์แวร์ระบบ ERP เข้ามา ช่วยในการทำงานขององค์การอยู่ แต่มีอยู่ประเด็นหนึ่งที่ผู้บริหารไม่ควรหลงเข้าใจผิดไปกับคำโฆษณาของผู้ผลิตซอฟท์แวร์ERPทั้งหลาย เพราะบางซอฟท์แวร์นั้นเป็นเพียงแค่ซอฟท์แวร์เพื่อการออกบิลหรือการบัญชีเพียงเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องพิจารณาให้ดีก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อระบบ Forma ERP มีความสามารถเหนือกว่าหรือทัดเทียมซอฟท์แวร์ต่างประเทศ เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ประกอบการในประเทศไทย ด้วยการลงทุนไม่สูงมากนัก สามารถควบคุมงบประมาณการลงทุนได้ มีคุณสมบัติเหมาะสำหรับความต้องการภายในประเทศอย่างแท้จริง

    นอกจากนั้น ระบบ Forma ERP ยังสามารถ Implement ง่าย ใช้งานง่ายช่วยลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้าน IT รวมทั้งการรับ Customize และ Modify เพิ่มเติม โดยทีมงานของผู้ผลิตเองอย่างรวดเร็วและถูกใจ จึงได้รับความไว้วางใจจากหลายองค์กรทั้งองค์กรรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยและองค์กรเอกชน

    ระบบ Forma ERP ได้รับการออกแบบตามหลัก Software Engineering โดยผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษามาโดยตรงและออกแบบฐานข้อมูลตามหลัก E-R Model ( James Martin) และ Relational Model (CJ.DATE) ซอฟท์แวร์ จึงมีโครงสร้างที่ทันสมัย ยืดหยุ่นดูแลบำรุงรักษาง่าย  นอกจากนี้ สำหรับลูกค้าที่มีการซื้อบริการบำรุงรักษาซอฟท์แวร์ (Maintenance Agreement) ก็จะมีการบริการที่เน้นเฉพาะเจาะจงนอกเหนือจากบริการพื้นฐาน ซึ่งเป็นบริการพิเศษที่เหมาะสำหรับลูกค้าที่ต้องการ การบริการดูแลเพิ่มเป็นพิเศษ  เพื่อมุ่งหวังที่จะเป็นผู้นำการซอฟท์แวร์ ด้านธุรกิจของไทยที่มีคุณภาพและทดแทนซอฟท์แวร์ต่างประเทศที่มีราคาแพงแต่กลับใช้งานยุ่งยาก หรือไม่สามารถใช้งานได้ อีกทั้งยังได้นำเทคโนโลยีด้าน Internet มาผนวกกับ ซอฟท์แวร์ ระบบ Forma ERP เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเติบโตคู่ไปกับโลกธุรกิจในยุคโลกาภิวัฒน์ได้อย่างแท้จริง